ขาแตกลาย กลายเป็นกังวล คุณแม่หลังคลอดหมดความมั่นใจ

ภาพที่ 3
เลือกอ่านข้อมูลที่สนใจ

ต้องการปรึกษาปัญหาความงามกับ Aestima

ฟอร์มปรึกษาปัญหา (หน้าแรก)

คนท้องขาแตกลาย ไม่สายที่จะดูแล

ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังตั้งครรภ์ ปัญหาผิวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่ากันสำหรับคนท้อง หรือผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นคุณแม่ เพราะเมื่อมีการขยายตัวเนื่องจากการอุ้มท้อง หน้าท้องจะเป็นส่วนที่มีการเพิ่มของขนาดมากกว่าส่วนอื่น ๆ และ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ ปัญหาผิวอีกอย่างที่พบบ่อยก็คือ “รอยแตกลาย” เหนือไปกว่านั้น คุณแม่บางท่านประสบปัญหารอยแตกลายบริเวณอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น บริเวณบั้นเอว แขน รวมไปถึงขาแตกลาย เป็นต้น
ปัญหาขาแตกลาย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในคนที่มีการเพิ่มหรือลดน้ำหนักเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์ก็พบขาแตกลายได้ ทั้งในบริเวณต้นขาด้านใน ต้นขาด้านหน้าขา หัวเข่า รวมไปถึงบริเวณน่อง บางครั้งการใส่เสื้อผ้าก็สร้างความไม่มั่นใจแม้จะปกปิดอย่างไรก็อาจจะเห็นขาแตกลายได้ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มีวิธีการรักษารอยแตกลายให้เลือนลงได้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเลเซอร์รอยแตกลาย หรือแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดรอยแตกลายก็เป็นส่วนสำคัญที่ลดความกวนใจเกี่ยวกับรอยแตกลายของคุณแม่หลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะ คนท้องขาแตกลาย ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สามารถสวมใส่เสื้อผ้าได้หลากหลายสไตล์ เหมือนเมื่อครั้งก่อนตั้งครรภ์ แนวทางการดูแลผิวที่ดีที่สุดก็คือการเตรียมตัว หาข้อมูลและคัดสรรแนวทางการรักษารอยแตกลายให้เหมาะสมกับปัญหาผิวที่ต้องเผชิญเมื่อตั้งครรภ์

เข้าใจผิว เข้าใจการเกิดรอยแตกลาย

การที่เราเข้าใจผิว ทั้งในเรื่องของโครงสร้าง ลักษณะการเกิดของรอยแตกลาย รวมถึงสัญญาณเตือนของการเกิดรอยแตกลาย ล้วนเป็นการเตรียมพร้อมดูแลผิวของเรา ไม่ว่าเราจะต้องมีโอกาสเพิ่มน้ำหนักตัวจากการตั้งครรภ์ หรือ การสร้างกล้ามเนื้อให้ได้รูปร่างในฝันที่ต้องการ

รอยแตกลาย คือ ผิวแบบใด

ลักษณะของผิวแตกลายที่เราคุ้นเคย อาจจะเป็นระยะที่เป็นรอยแตกลายสีขาว ซึ่งเกิดมาได้ระยะนึงแล้ว ตามกลไกของการเกิดรอยแตกลาย จะเริ่มจากการขยายตัวของผิวในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มของน้ำหนัก การเจริญเติบโต ล้วนแล้วทำให้เกิดรอยแตกลายในระยะแรก นั่นคือ รอยแตกลายสีแดง ในระยะนี้อาจจะพบอาการคันของผิวบริเวณดังกล่าวร่วมด้วย นานวันเข้าจากรอยแตกลายสีแดง ก็จะกลายเป็นรอยแตกลายสีขาว ปัญหาเรื่องรอยแตกลายนี้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่แค่หน้าท้อง บั้นเอว แต่อาจเกิดบริเวณหน้าอก หัวไหล่ หลัง หรือแม้กระทั่งคนท้องขาแตกลายได้เช่นกัน โดยทั่วไปของผิวแตกลายสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะคือ
  1. ลายเส้นขนานสีแดง (Striae rubra) เป็นรอยแตกลายในระยะเริ่มต้น อาจจะพบได้เป็นเส้นสีออกแดง ม่วง หรือชมพู ขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละบุคคล
  2. ลายเส้นขนานที่เกิดจากการยืด (Striae distensae) มักพบในคนที่กำลังสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  3. ลายเส้นขนานที่เกิดจากผิวฝ่อ (Striae atrophicans) คนที่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
  4. ลายเส้นขนานสีขาว (Striae alba) เป็นรอยแตกลายแดงเก่าที่กลายเป็นสีขาว อาจมีการยุบตัวของผิวบริเวณเส้นรอยแตกลายร่วมด้วย

จริง ๆ แล้ว รอยแตกลาย แตกตรงไหนของโครงสร้างผิว

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ารอยแตกลายคือเกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังชั้นกลาง (Dermis) แต่ด้วยผิวหนังของคนเรามีโครงสร้างที่เฉพาะและมีกระบวนการฟื้นฟูตนเองโดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการเข้าใจโครงสร้างของผิว ก็จะทำให้คนไข้ที่มีความกังวลในเรื่องรอยแตกลาย เข้าใจและดูแลผิวตนเองได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งไปกว่านั่นการฟื้นฟูขาแตกลายต้องใช้เวลาและความอดทน ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษา ผิวประกอบด้วย 3 ชั้น หลักคือ
  • หนังกำพร้า (Ediderma)
    ผิวหนังกำพร้า เป็นด่านแรกของผิวที่ปกป้องจากมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ฝุ่น และอุณหภูมิ เป็นต้น ซึ่งในผิวชั้นนี้ จะมีการผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติ และมีหน้าที่ในการกักเก็บความชุ่มชื่นให้ผิว
  • หนังแท้ (Dermis)
    ชั้นของผิวหนังชั้นแท้ ที่ประกอบไปด้วยคอลลาเจนและอีลาสติน รวมตัวกันเป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นและเเข็งแรง ส่งผลต่อความกระชับ ยืดหด ของผิวโดยตรง อีกทั้งยังมีส่วนประกอบสารไฮยาลูรอนิก ที่มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้นอีกด้วย
  • ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat)
    เป็นชั้นที่อยู่ของเซลล์ไขมัน โปรตีน และคอลลาเจน มีหน้าที่รองรับแรงกระแทกจากภายนอก ป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน ซึ่งความหนาบางของชั้นนี้ ก็ขึ้นอยู่การมีจำนวนเซลล์ไขมันที่แตกต่างกันออกไป

ความจริงของขาแตกลาย

สัญญาณเบื้องต้น ก่อนขาแตกลาย

การเกิดขาแตกลายในคนท้อง หรือคนที่มีการเพิ่มลดของน้ำหนักนั้น กลไกผิวจะส่งสัญญาณเตือนถึงความเปลี่ยนแปลงของผิว ตั้งแต่ระยะของการเกิดรอยแตกลายสีแดงที่มีการเกิดการฉีกขาดของผิวในระยะแรก ดังนั้น ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นรอยแตกลายที่บริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย หรือคนท้องขาแตกลายได้นั้น การคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวเป็นการป้องกันการเกิดรอยแตกลายที่ดีที่สุดทางหนึ่ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผิวจะมีการเกิดรอยแตกลาย ระยะการเปลี่ยนแปลงของผิวจะมี 2 ข้อให้สังเกต กล่าวคือ
  • ข้อที่ 1 ผิวหนังบริเวณที่จะมีแนวโน้มเกิดรอยแตกลายในอนาคตจะดูบางและเป็นสีชมพูอ่อน
  • ข้อที่ 2 มีความรู้สึกระคายเคือง คันตรงผิวหนังบริเวณนั้น ผ่านไปซักพัก ผิวจะเริ่มเกิดเป็นรอยเส้นสีแดง ม่วง ชมพู ขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละบุคคล นั่นคือเข้าสู่การเกิดรอยแตกลายในระยะแรก “รอยแตกลายสีแดง (Striae rubra)”

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือ คนท้องบางคน กว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็น “คนท้องขาแตกลาย” นั้นอาจจะมาพบความกังวลผิวในจุดนี้ เมื่อตอนหลังคลอดน้องแล้ว เพราะระหว่างในช่วงตั้งครรภ์นั้นเอง ทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การควบคุมโภชนาการให้เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงอาจทำให้คุณแม่ละเลยที่จะดูแลผิวในส่วนอื่น ๆ แต่จะไปเน้นย้ำในส่วนของหน้าท้อง หน้าอก บั้นเอว ซะเป็นส่วนใหญ่ และยิ่งเมื่อใกล้กำหนดคลอด การก้ม หรือ การเคลื่อนไหวยิ่งยากกว่าเดิม การสังเกตว่าขาแตกลายหรือไม่ก็อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร มารู้ตัวอีกที ว่าทั้งส่วนของต้นขาด้านใน ต้นขาด้านนอก เข่าและน่องก็มีรอยแตกลายสีขาวเกิดขึ้นแล้ว

ขาแตกลาย เกิดได้จากหลายปัจจัย

จริง ๆ แล้วบางครั้ง คนท้องบางคนก็ไม่มีรอยแตกลายเกิดขึ้น พอเมื่อหลังคลอดอาจจะมีความหย่อนคล้อยของผิวหนังบริเวณหน้าท้อง ร่วมกันกับบั้นเอว บางรายมีภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกทำให้ดูท้องไม่ยุบลงมาหลังจากคลอดน้องและน้ำหนักกลับมาสู่สภาวะปกติแล้ว บางท่านรอยแตกลายไม่เกิดบริเวณหน้าท้อง แต่กลายเป็นคนท้องขาแตกลาย แตกทั่วเต็มทั้ง ต้นขาด้านบน และน่องเป็นต้น หรือในเคสของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักเพิ่ม ลด อย่างรวดเร็ว และการเจริญเติบโตก็อาจทำให้เกิดรอยแตกลายขึ้นได้เช่นกัน ปัจจัยหลัก ๆ ที่คนไข้สามารถใช้ในการสังเกตตัวเองได้อีกทางมีดังนี้
  1. ผิวหนังยืดขยายฉับพลัน
    เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่คุ้นเคยสำหรับทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อที่ให้สวยตามความต้องการ
  2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
    เกิดได้ทั้งตอนช่วงเจริญเติบโต ช่วงวัยรุ่น มีการขยายของทั้งกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ผิวเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการตั้งครรภ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ผิวอาจจะขาดความยืดหยุ่น จนทำให้เกิดรอยแตกลายได้ในที่สุด
  3. การขาดความชุ่มชื้นของผิว
    การบำรุงผิวไม่เพียงพอ ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น จนเสียสภาพจนส่งผลให้ผิวเกิดรอยแตกลายมากกว่าผู้ที่ใส่ใจดูแลผิวให้อิ่มน้ำสม่ำเสมอ
  4. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีแรง
    การทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์บางชนิดทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดความระคายเคือง จนส่งผลต่อความบาลานซ์ของผิว ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดรอยแตกลายได้เช่นกัน
  5. การเสื่อมของผิวตามอายุ
    เมื่ออายุมากขึ้น การซ่อม สร้าง คอลลาเจนก็จะลดลง ส่งผลต่อความยืดหยุ่นผิว เมื่อผิวมีความยืดหยุ่นน้อยลง ความแข็งแรงของผิวก็น้อยลงเช่นกัน การฉีกขาดของผิวที่เป็นลักษณะของรอยแตกลายก็ไม่สามารถฟื้นฟูได้ง่าย เหมือนตอนที่อายุไม่มาก แนวโน้มการเกิดรอยแตกลายสีขาวก็เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน

ถ้าพบว่าขาแตกลายแล้ว แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง

การรักษาด้วยเทคโนโลยีที่เพื่อการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน โดยเฉพาะกลุ่มเลเซอร์ก็ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น
  • Picosecond ที่ปล่อยพลังงานด้วยความรวดเร็วเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ในบริเวณรอยแตกลายได้โดยตก ทำให้จางลง แต่ต้องใช้จำนวนการรักษาหลายครั้ง และต้องดูแลหลังทำเป็นพิเศษ
  • Fractional CO2 เป็นเลเซอร์ที่เข้าไปใต้ชั้นผิวหนังเพื่อกำจัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ตายไปแล้วออก และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวใหม่ดูสม่ำเสมอ ส่งผลให้รอยแตกลายจางลงได้ โดยต้องทำอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • Morpheus Pro เป็นเทคโนโลยี Microneedle RF ที่เข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ในชั้นผิวได้ลึกถึง 8 มิลลิเมตร ด้วยการออกแบบของเทคโนโลยี ทำให้ การรักษาผิวให้กลับมากระชับ ร่วมการสลายไขมัน รวมทั้งการรักษารอยแตกลายให้ตื้นขึ้น จากการสร้างคอลลาเจนด้วยการกระตุ้น 100 องศาเซลเซียส ไม่ได้แค่ทำให้รอยแตกลายดูจางลงแต่ได้โครงสร้างผิวที่แข็งแรง ส่งผลต่อผิวที่เฟิร์มกระชับขึ้นมาด้วย คนท้องขาแตกลาย คุณแม่หลังคลอด ต่างไว้วางใจเลือกรับบริการ Morpheus Pro กับเทคนิค Absolute Tight ที่เอสติมา คลินิก สามารถเข้ามาปรึกษา วางแผนการรักษา ร่วมกันกับทีมแพทย์ของเราได้นะคะ

เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ

ขาแตกลาย กลายเป็นกังวล คุณแม่หลังคลอดหมดความมั่นใจ

ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังตั้งครรภ์ ปัญหาผิวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่ากันสำหรับคนท้อง หรือผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นคุณแม่

Read More »

ลดหน้าท้องหลังคลอด ทำอย่างไรให้เห็นผลไวและลดลงจริง!

ปัญหาคลอดแล้ว แต่ท้องไม่ยุบ? เพราะคุณแม่หลายๆ คน หลังจากการคลอดลูกแล้วส่วนใหญ่ก็จะใช้เวลาทุ่มเทไปกับการเลี้ยงลูกและรับประทานอาหารที่ดี

Read More »

ต้องการปรึกษาปัญหาความงามกับ Aestima

ฟอร์มปรึกษาปัญหา (หน้าแรก)